วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการดูข่าว Forex Market


ติดตามข่าว Forex Factory  วิธีการดูข่าวจาก Forex Factory มีดังนี้ครับ



ทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว กด Save ครับ ต่อไปดูวิธีการดูข่าวครั


มาดูความหมายต่างๆ ซึ่งเป็นส่วยสำคัญในการวิเคราะห์ครับ


  • Actual : เป็นความจริงที่เกิดขึ้นหลังจากมีการประมาณการแล้ว
  • Forecast : เป็นการประมาณการว่าจะเป็นไปในอนาคต
  • Previous : เป็นเวลาก่อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ยกตัวอย่างครับ



วิเคราะห์ดู EUR ทั้ง 3 ตัวที่ผมวงกลมไว้ครับ 


  • EUR ตัวแรก ข้างหน้าจะเป็นสีแดงเข้ม แสดงว่า มีผลต่อตลาดมากที่สุด (สีแดงเข้ม=มีผลต่อตลาดมาก, สีส้ม=มีผลต่อตลาดปานกลาง, สีเหลือง=มีผลต่อตลาดน้อย, สีขาว= ไม่มีผลต่อตลาด)
  • Previous เท่ากับ 45.8 (ก่อนเกิดเหตุการณ์)
  • Forecast เท่ากับ 48.7 (คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น)
  • Actual เท่ากับ 28.7 (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง)
  • สรุปผล : ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของ Garman ZEW ลดลง จาก 45.8% เหลือเพียง 28.7% มีผลทำให้ค่าเงิน EUR อ่อนตัว
  • การนำไปใช้ : เนื่องจากเนื้อข่าวมีผลกระทบต่อตลาดมาก (เพราะเป็นสีแดงเข้ม) ทำให้ค่างเิงิน EUR อ่อนค่าลง กราฟที่อยู่ในตลาด Forex ของ EUR ก็จะสู้ของอีกตัวหนึ่งไม่ได้ เช่น EUR/USD ความน่าจะเป็นของกราฟจะตกลง เพราะแรง USD มากกว่า EUR นั้นเองครับ แต่ไม่ได้หมายความว่ากราฟจะเป็นแบบนี้เสมอไปนะครับ มันมีหลายอย่างที่ต้องวิเคราะห์ครับ

หมายเหตุ : หลักการวิเคาะห์หุ้นนั้น บางครั้งต้องใช้จิตวิทยาเข้าช่วยด้วยเหมือนกันนะครับ ยกตัวอย่างข่าวด้านบน คนส่วนใหญ่จะวิเคราะห์ว่าหุ้นนั้นจะลง แต่นักเล่นหุ้นเก่งๆเค้าจะยังไม่รีบขายครับ เค้าจะรอดูว่ามีคนรีบขายเยอะแค่ไหน ถ้ามีไม่มาก พวกนี้เค้าจะรอซื้อหุ้นเพื่อที่จะดันหุ้นให้ขึ้นไปครับ ซึ่งกราฟอาจจะออมมาในรูปแบบ ลงสักแปบนึงแล้วก็ขยับตัวสูงขึ้นครับ แต่มันก็อยู่ที่หลายหตุการณ์นะครับ ต้องวิเคราะห์ให้ดี

ข่าว และซีกแนลตลาด Forex เพิ่มเิติม

http://www.rttnews.com/Content/Forex.aspx

http://www.msnbc.msn.com/

http://www.reuters.com/

http://www.cnbc.com/

bloomberg.com

สำหรับท่านที่ชอบข่าวเป็นภาษาไทย  www.ryt9.com


การวิเคราะห์ข่าวจากเว็บข่าว Forex Factory

การอ่านข่าวใน ForexFactory.com
Forex News: ข่าวที่มีผลต่อตลาดเงิน จะเป็นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงินของประเทศต่างๆ ข่าวของแต่ละประเทศ จะมีผลต่อค่าเงินของประเทศนั้น ข่าวที่มีผลต่อค่าเงินมาก ตัวอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate), อัตราจ้างงาน (Employment Change), การประกาศตัวเลข GDP


ถ้าข่าวเศรษฐกิจ ของประเทศ ออกมาดี เช่น การจ้างงานเพิ่มขึ้น, GDP เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น ตัวเลขออกมาดี คนแย่งกันซื้อ ค่าเงินก็จะสูงขึ้น ตามหลัก อุปสงค์/อุปทาน ถ้าข่าวออกมาเศรษฐกิจ ไม่ดี คนย่อมไม่อยาก จะถือเงินนั้นไว้ พากันเทขายออกมา ค่าเงินจึงลดลง



เมื่อเรารู้ว่าข่าวทำให้ค่าเงินนั้นๆ ขึ้น จะมีผลต่อราคาคู่เงินที่เราเล่น อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าข่าวออกมาแล้วค่าเงิน USD (ดอลล่าร์สหรัฐฯ) แข็งขึ้น ดอลล่าร์สูงขึ้น คู่เงินที่มี USD นำหน้า ราคาจะวิ่งขึ้นไป เช่น (USD/JPY, USD/CHF, USD/CAD) และคู่เงินที่มี USD ข้างหลัง ราคาก็จะลดลง เพราะตัวหารเพิ่มขึ้น เช่น (EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, NZD/USD) ถ้า USD อ่อนลง ก็กลับกัน

ข่าวที่สำคัญๆ จะมีต่อค่าเงินมาก ณ.เวลาที่ข่าวออก ราคาของคู่เงินอาจ ขึ้น/ลง มากกว่า 100 จุด ขึ้นอยู่กับ ผลของข่าว ผู้ที่ต้องการเล่นข่าวห้ามพลาดเด็ดขาด ผู้ที่เล่นเทคนิค เล่นตามซิกแนล ควรหลีกเหลี่ยงช่วงข่าวสำคัญ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข่าวให้ดี ถ้าเรามีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเงิน จะเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ

ขอแนะนำเว็บ www.ForexFactory.com ที่นิยมใช้ในการดูข่าว จะมีปฏิทินแสดงข่าวต่างๆ สามารถดูล่วงหน้า หรือย้อนหลังได้ ถ้ามีเวลาลองเปิดไปดู ข่าวเก่าๆ แล้วลองศึกษาเทียบกราฟราคา ดูผลของข่าวก็ดีครับ

ความหมายข่าวใน ForexFactory.com
ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance : โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
4 GDP ( Gross Domestic Production ) : จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure) : ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
6 CPI ( Consumer Price index ) : ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
7 TICS ( Treasury International Capital System ) : ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting ) : จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
9 Retail Sales : ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey : ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
11 PPI ( Producer Price Index ) : ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims : ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
13 Personal Income : ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
14 Personal spending : ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

15 BOE Rate Decision ( Bank Of England ) : การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป) และ2.อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany,Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden,Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และSlovenia)
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders : ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager ) : ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
19 Philadelphia Fed. Survey : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

20 ISM Non-Manufacturing Index : ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
21 Factory Orders : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
22 Industrial Production & Capacity Utilization : ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
23 Non-Farm Productivity : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
24 Current Account Balance : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment ) : ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index ) : ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
27 Leading Indicators : ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim,Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
28 Business Inventories : ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany ) : ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)

Post By : www.forexpropip.blogspot.com , 
http://marketiwa-thai.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค




          กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ
หากท่านสามารถเข้าใจและ ปฎิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้ผมเชื่อว่าท่าน ก็สามารถเอาตัวรอด ด้วยการลงทุนโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้ครับ

1. ดูแนวโน้ม
เรียน รู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของ ตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและ ยาว

2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม
แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น สิ่งแรกคือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะลงทุนในระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ชาร์ตของช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยที่คุณต้องแน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้ชาร์ตในระดับวันและสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนระยะสั้น ให้ใช้ชาร์ตระดับวันและรายนาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้ชาร์ตของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย

3. หาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์ แนวรับและแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อก็คือจุดใกล้แนวรับซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของ รอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายก็คือจุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสูงสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนผ่านแนวต้าน แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่ง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่ และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่

4. รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหนจึงจะกลับตัว
เทียบ อัตราส่วนการขึ้น-ลง เป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะมีการกลับตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนต์ของแนวโน้ม ของช่วงก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นหรือลงของแนวโน้มปัจจุบันได้โดยใช้ อัตราส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขึ้นหรือลง 50%ของแนวโน้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อน และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนในก็คือ อัตราส่วน Fibonacci 36% และ 62% ดังนั้น เมื่อตลาดมีการพักในช่วงแนวโน้มขาขึ้น จะมีจุดซื้อคืนจุดแรกเมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด

5. ใช้เส้นแนวโน้ม
เส้น แนวโน้มเป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีเพียงขอบเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนชาร์ต เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดใกล้กัน ราคาของหุ้นมักจะเคลื่อนเข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนกลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หากราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนแตะที่เส้น 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้ม และยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น

6. ติดตามค่าเฉลี่ย
หมาย ถึงการเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งจะบอกถึงราคาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใดและช่วยยืนยัน สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน รูปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กันคือ 5 วันและ10 วัน, 10 วันและ25วัน, 25 วันและ 50 วัน สัญญาณซื้อ-ขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่มีค่าเฉลี่ยสั้นกว่าตัดกับเส้นที่ ยาวกว่า หรือ เมื่อราคาเคลื่อนผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆเป็นดัชนีที่เคลื่อนไปตามแนวโน้ม การใช้เส้นค่าเฉลี่ยจึงเหมาะสำหรับตลาดที่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน

7. รู้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators (เครื่องมือที่มีตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 100) เป็นดัชนีที่ช่วยชี้บอกจุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดการกลับตัว Oscillators ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillators เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน 70 จะแสดงถึงการซื้อที่มีมากเกินไป (Overbought) และ ต่ำกว่า 30 แสดงถึงการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า Overbought และ Oversold สำหรับ Stochastics คือ 80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับการคำนวณ Stochastics และ 9 หรือ 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับ RSI สัญญาณกลับตัวที่เกิดใน Oscillators จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะกับการเล่นเก็งกำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาใช้ช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณระดับวันสำหรับยืนยันสัญญาณในรายนาที

8. มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด (พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ Oscillators ไว้ด้วยกัน สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่า โดยที่ทั้ง 2 เส้นอยู่ต่ำกว่าศูนย์ สัญญาณขายเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าที่เหนือ ศูนย์ สัญญาณในระดับสัปดาห์จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD histogram ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่าง MACD ทั้งสองเส้น สามารถส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย

9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Directional Index (ADX) เป็นดัชนีที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่ และเป็นตัวช่วยวัดว่าแนวโน้มนั้นอยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขี้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเก็งกำไรระยะสั้น ควรใช้ Oscillators ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม กับสภาวะตลาด

10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยืนยันแนวโน้ม
สัญญาณ ที่ให้การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจาก ผู้ที่เข้ามาซื้อขายใหม่ (open interest) ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจุบัน ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน open interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก open interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้นราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรจะมีปริมาณซื้อขายและ open interest หนุนอยู่ด้วย



วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

รู้จัก Exness

          EXNESS มีข้อมูลเบื้องต้นอยู่ในเว็บรองรับภาษาไทย สะดวกในการใช้บริการ ตอนนี้เป็นที่นิยมสำหรับมือใหม่ และนักเทรดมืออาชีพ การทำธุรกรรมการเงินนั้นแสนง่ายไม่ต้องผ่านคนกลางใดๆ สามารถฝากเงินผ่านเคาน์เตอร์ 7-11 ได้เลย และถอนเข้าบัญชีธนาคารในไทยได้สะดวก  ทำทุกอย่างด้วยตนเอง มีข้อมูลภาษาไทยสอนไว้หลายเว็บ  ผมเองก็คิดว่า Exness เป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากเล่นมาหลายตัว และตอนนี้ก็สะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น  ในบทต่อไปเราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของ EA & Indicator เทพๆ ที่จะพิชิตรายได้ไม่มากก็น้อยสำหรับนักลงทุนมือสมัครเล่น




EXNESS เติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดรัสเซีย และเปิดตัวเครื่องมือใหม่ที่มีความก้าวหน้าสำหรับเทรดเดอร์
บริษัทขยายกิจการเข้าสู่ CIS และประเทศในแถบเอเชีย รวมถึง จีน อิหร่าน มาเลเซียและอินโดนีเซีย
เมษายน – EXNESS ได้รับใบรับรอง SSL สำหรับเว็บไซต์บริษัท
กันยายน – EXNESS ได้รับอนุญาตเชิงการค้าจากคณะกรรมการ FFMS สำหรับธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าโภคภัณฑ์และตัวเลือก บริษัทใช้ใบอนุญาตเพื่อโพสต์การทำธุรกรรมสำหรับลูกค้าบนตลาดหุ้นเซนต์ ปีเตอร์เบิร์กผ่านระบบ FX+
กันยายน – บริษัทเริ่มเสนออัตราความสามารถในการก่อหนี้ 1:1000 ให้กับลูกค้า
กันยายน – ลูกค้าสามารถถอนเงินออกจากบัญชีการซื้อขายได้โดยอัตโนมัติ
ตุลาคม – การเลือกเครื่องมือทางการเงินขยายครอบคลุมมากขึ้น และบัญชีโลหะสกุลเงินมีให้เลือกใช้
เปิดบัญชี EXPERT จำนวน 5 บัญชีแรกโดยอิงอยู่กับผลประกอบการ

ความหมาย Forex Market


Forex คืออะไร?


Forex ย่อมาจาก Foreign Exchange บางครั้งเรียกย่อว่า FX คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
Forex Market หรือ ตลาด Forex เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าการซื้อขายมากกว่า US$ 2 trillion (2 ล้านล้านดอลลาร์) ต่อวัน เป็นตลาดการเงิน ที่มีสภาพคล่องสูงมาก ตลาดเปิดทำการซื้อขาย 24 ชั่วโมง ตลอดวันทำการ โดยหยุดการซื้อขาย แค่วัน เสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

การซื้อขายใน ตลาด Forex เป็นการซื้อขายค่าเงิน โดยซื้อเงินสกุลหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ขายเงินอีกสกุลหนึ่งออกไป หรือเป็นการจับคู่แลกเปลี่ยน ซื้อขายค่าสกุลเงินนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เงินสกุลยูโร/ดอลลาร์สหรัฐฯ (EUR/USD) หรือ เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น (USD/JPY) เป็นต้น


ค่าเงินสกุลต่างๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายในตลาด Forex ที่สำคัญ มีดังนี้
Symbol
ชื่อสกุลเงิน 
ชื่อเรียก 
ประเทศ
ตลาด เปิด-ปิด
USD
ดอลลาร์
Buck
สหรัฐอเมริกา
19.00-03.00
EUR
ยูโร
Fiber
สหภาพยุโรป
13.00-21.00
JPY
เยน
Yen
ญี่ปุ่น
06.00-14.00
GBP
ปอนด์
Cable
อังกฤษ
14.00-22.00
CHF
ฟรังซ์
Swissy
สวิสเซอร์แลนด์
13.00-21.00
CAD
ดอลลาร์
Loonie
แคนาดา
19.00-03.00
AUD
ดอลลาร์
Aussie
ออสเตรเลีย
05.00-12.00
NZD
ดอลลาร์
Kiwi
นิวซีแลนด์
-


การที่เราจะซื้อขายใน ตลาด Forex จะต้องเปิดบัญชีกับ Forex Broker เป็นโบรกเกอร์ทางอินเตอร์เน็ต เราสามารถเทรดออนไลน์ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ถึง คืนวันศุกร์ สำหรับมือใหม่ ยังไม่เคยเทรดเลย แนะนำลองเปิดบัญชีของ Marketiva ดูครับ มีเงินปลอมให้เล่น $20000 (เบิกเป็นเงินจริงไม่ได้ เอาไว้ฝึกเทรด) และมีเงินจริงให้ฟรีอีก $5 ดอลลาร์ หรือ โบรกเกอร์ที่แนะนำ คลิกที่นี่

ตารางเวลาเปิด-ปิดตลาด ของแต่ละโซน (ค่าเงิน)


การบริหารเงินจาก เงินฟรี $5 ให้ได้ $20480 ใน 1 ปี

บรรทัดที่ 4 จากรูปด้านบนที่ เป็น % พื้นสีม่วงอ่อน คือแผนการเทรด ว่าเราจะเทรดครั้งละกี่ % ของเงินทุน บรรทัดที่ 3 pip/day คือเป้าหมายจำนวนจุดที่เราต้องทำใน 1 วัน และ บรรทัดที่ 2 pip/month คือจำนวนจุดที่เราต้องทำใน 1 เดือน ถ้าทำตามแผนได้ทุกวันในเดือนที่ 13 เราจะได้ ยอด $20480
ตัวอย่าง ถ้าเราใช้แผนการลงทุนแบบ 20% (แถบสีเขียว) ในเดือนแรก เราจะลงทุนวันละ 1$ หากเราทำได้วันละ 25 จุดทุกวัน พอครบ 1 เดือน ได้ 500 จุด เราจะได้กำไร 100% ได้เงินทุนเพิ่มเป็น $10 พอเดือนที่ 2 ก็ลงเพิ่มเป็น ครั้งละ $2 ทำตามตารางแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพิ่มขึ้น 100% หรือ 2 เท่าในทุกเดือน จนครบทุกเดือน ก็จะได้ยอดเงินตามเป้าหมาย
หากเราเลือก แผนลงทุนที่ใช้เทรดต่อครั้งด้วย % ลดลง เราก็ต้องทำ จุด ให้ได้มากขึ้นต่อวัน และในทางกลับกัน หากลงทุนด้วย % เพิ่มขึ้น เราก็ทำกำไรด้วย จุด ที่น้อยลง  อันนี้เป็นตัวอย่างแบบแผนการลงทุน อาจจะเห็นว่าง่ายๆ แต่จริงๆ เวลาเทรดจะไม่ง่ายแบบในตารางนี้นะครับ เราจะต้องฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เราชำนาญ เทรดให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แนะนำให้ลองฝึกจากเงินปลอมก่อนให้เข้าใจ จึงเริ่มเทรดด้วยเงินจริง

การลงทุนคือความเสี่ยง ยิ่งผลตอบแทนเยอะความเสี่ยง ก็ยิ่งเยอะตามไปด้วย จึงควรศึกษาให้เข้าใจก่อน การลงทุนครับ

1. ศึกษากราฟ รูปแบบราคา อินดิเคเตอร์ เพื่อหาแนวโน้มของราคา และสัญญาณในการเข้าเทรด การหาจังหวะปิดเพื่อทำกำไร เหล่านี้สามารถหาศึกษา ได้ตามเว็บต่างๆ ตามลิงค์ด้านขวามือครับ
2. ศึกษาหลักการบริหารเงินในบัญชี และบริหารความเสี่ยง
3. ขยันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอครับ




อ้างอิง ::  http://forex108.blogspot.com

บทนำ ความรู้ตลาด Forex

ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้ ตลาด Forex


ขอบคุณแหล่งที่มาต่าง ๆ บ้างก็เขียนด้วยประสบการณ์ บ้างก็ Copy อ้างอิงมาเพื่อนำเสนอ ให้เนื้อหาครบองค์ประกอบ  หากมีเวลาผมจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องคนไทยกับตลาดโฟเร็ก (Forex) ขอบคุณที่ติดตาม Exness Club นะครับ